วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

โลกาภิวัตน์ : อินเทอร์เน็ตอนาคต

โลกาภิวัตน์ : อินเทอร์เน็ตอนาคต


เมื่อมองย้อนหลัง 10 ปี ที่ผ่านมา จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ได้เปลี่ยนแปลงโลกเรามากกว่าที่คิด หรือจินตนาการ มองง่ายๆ แค่เริ่มต้นที่บริษัท กูเกิ้ล (Google) ที่โด่งดังมากในโลกขณะนี้นั้น เจ้าของบริษัทสองคน 10 ปีก่อนยังเป็นนักศึกษาอยู่ที่มหา วิทยาลัยสแตนฟอร์ดอยู่เลย ขณะนี้เราก็ใช้กูเกิ้ล เอิร์ธ (Google Earth) ดูแผนที่โลกได้ทุกหลังคาเรือนจนกระทั่งหลังคาบ้านของท่านทุกหลังคาหาได้จากเว็บไซต์นี้ ปิดความลับอะไรกันไม่ได้แล้ว แต่ก็จะมองว่าเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในอนาคตสิบปีข้างหน้าเป็นเช่นไรนั้น น่าจะมองที่แนวโน้มใหญ่สักสามประการคือ แนวโน้มอันแรก การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้ทั้งข้อความ ภาพและเสียงได้หมด ยังสามารถประยุกต์ใช้ในงานและเพื่อความสะดวกสบายได้อีกมาก

วินเซนต์ เซิร์ฟ (Vincent Cerf) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งอินเทอร์เน็ต ซึ่งขณะนี้ทำงานให้กับโครงการงานวิจัยชั้นสูง ให้กับกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา เชื่อว่ายังมีสิ่งประดิษฐ์และผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของอินเทอร์เน็ตที่จะสร้างอีกถึง 90 เปอร์เซ็นต์ 10 ปีที่ผ่านมาแค่ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ตัวอย่างเช่นการใช้โทรศัพท์มือถือ ควบคุมสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นห้องครัว ห้องบันเทิง เหมือนๆ กับรีโมตคอนโทรล ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ทั่วทั้งโลก



ในอนาคตการติดต่อสื่อสารกับยานอวกาศ และสถานีภาคพื้นดินก็จะใช้ลักษณะเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตแทนได้ ปัจจุบันใช้ระบบโทรคมนาคมผ่านไมโครเวฟ แนวโน้มที่สอง ในระหว่างที่ความเจริญเติบโตด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไปอย่างรวดเร็วนั้น สิ่งที่ควรระวังตามมาอย่างมากคือ การโจมตีระบบอินเทอร์เน็ต หรือ ไซเบอร์แอทแทค (Cyber attack) จากการสำรวจของฟิวอินเทอร์เน็ตซึ่งได้ถามถึงความเชื่อที่ว่ามีความปลอดภัยในระบบอินเทอร์เน็ตใน 10 ปีข้างหน้าอย่างไร ประมาณ 66 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบบอกว่า จะต้องมีการถล่มโจมตีระบบอินเทอร์เน็ตโลกขนาดใหญ่แน่นอน ใน 10 ปีข้างหน้า ทางคุณโฮเวิร์ด ชมิธ (Howard Schmidt) ซึ่งก็นับว่าเป็นซาร์ทางระบบความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ตนั้นบอกว่า สิ่งของทุกอย่างในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นหม้อกาแฟ ไฟฟ้าในบ้าน ระบบเตือนภัย และสิ่งอื่นจะต้องมีชื่อที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตที่เขาเรียกว่า ไอพีแอดเดรส (Internet-Protocol address) และจะต้องมีเจ้าของควบคุมด้วย เช่น ระบบ อาร์เอฟไอดี– radio frequency identification tags ซึ่งจะเป็นแถบส่งสัญญาณวิทยุให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน ตำแหน่งใด ไปซื้อจากไหนมา จ่ายเงินที่ใด เพราะฉะนั้นการป้องกันระบบต้องสามารถสร้างระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะที่จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันด้วยตนเองได้โดยรักษาไวรัสได้เอง ซ่อมตัวเองได้ ปรับระบบตัวเองได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องอาศัยคน



แนวโน้มสุดท้าย ที่จะเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าไปเลยคืออุตสาหกรรมเรื่องข่าวและสิ่งพิมพ์ซึ่งจะต้องเข้าถึงตัวบุคคลกันเลยและสามารถให้ผู้รับข่าวสารนั้นได้ตอบโต้ทันทีและการใช้สื่อออนไลน์จะมีกันทั่วทั้งโลก จนกระทั่งทำให้รัฐบาลสามารถตรวจจับดักฟังประชาชนได้ว่าคิดอะไรอยู่ หลังเหตุการณ์ถล่มตึกแฝดที่นิวยอร์กเมื่อเดือนกันยายน วันที่ 11 หรือเรียกสั้น ๆ ว่าเหตุการณ์ 9/11 นั้นรัฐบาลเห็นความจำเป็นที่จะต้องควบคุมประชาชนและผู้คนมากขึ้น เช่นที่สนามบิน การออกพาสปอร์ตฝังไมโครชิพชนิดใหม่ การออกบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็มีบางกลุ่มเห็นว่าก้าวล่วงสิทธิส่วนตัวของประชาชนมากไป มีการออกเสียงลงคะแนนผ่านอิเล็กทรอ นิกส์ได้ตลอดเวลา จะทำโพลถามความคิดเห็นก็จะ รู้ทันที จนกระทั่งมีการคาดเดาได้ว่าในปี 2014 ประธานาธิบดีของสหรัฐจะเป็นใครได้เลย แทบไม่ต้องลงคะแนนเลือกตั้งให้เสียเวลา

ดร.ไมค์ อัลวาเรช ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโครงการการเลือกตั้งด้วยเทคโนโลยีแห่งเอ็มไอที ได้กล่าวไว้ว่า อินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คนอเมริกันมาลงคะแนนทางอิเล็กทรอนิกส์ได้จากทุกส่วนของโลกโดยไม่ต้องมาที่หน่วยเลือกตั้ง ให้เสียเวลาเพราะมีระบบตรวจสอบตัวบุคคลให้แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือได้ของขั้นตอนการลงคะแนน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://artsmen.net/content/show.php?Category=cyberboard&No=3955



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น